บทความนี้จะมานำเสนอวิธีเลือกรองเท้าวิ่งให้เหมาะสมกับตัวเรา ซึ่งผมได้รวบรวมข้อมูลจากเว็ปไซต์หลายๆแห่ง ซึ่งเขียนอธิบายได้เห็นภาพดีจึงได้นำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งผมจะลงลิ้งเว็ปไซต์นั้นไว้เผื่อเพื่อนๆอยากอ่านตัวบทความจริงไว้ด้านล่างนะครับ
การเลือกรองเท้าวิ่งนั้นมีหลักใหญ่อยู่ก็คือ คุณต้องรู้ก่อนว่าเป็นนักวิ่งประเภทไหน? เช่น เป็นนักวิ่งสมัครเล่น เป็นนักกีฬาวิ่งมาราธอน หรือ เป็นนักกีฬาวิ่งแข่งแบบเร็ว ซึ่งเมื่อเราจำแนกได้ว่า เราเป็นประเภทไหน เราก็จะเลือกชนิดรองเท้าวิ่งได้อย่างถูกต้อง และเราก็จะเดินเข้าไปร้านขายรองเท้ากีฬาและจะได้เลือก รูปแบบและดีไซน์ที่เราชอบได้ง่ายขึ้น
โดยอายุการใช้งานทั่วไปสำหรับรองเท้าวิ่งที่ถูกใช้งานเป็นประจำจะมีอายุประมาณ 4-6 เดือน ขึ้นอยู่การเก็บรักษาและจำนวนการใช้งาน หมั่นลองสังเกตุดูที่พื้นรองเท้าว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ด้วยนะครับ
มาลองชมวีดีโอที่ทางเว็ปไซต์ REI แนะนำวิธีการเลือกรองเท้ากันดีกว่าครับ
Cr: https://youtu.be/47ULeOZQy9k
ในวีดีโอนี้ได้กล่าวไว้ว่า ก่อนที่เราจะเลือกรองเท้าที่เหมาะกับเราได้นั้น เราต้องรู้ก่อนว่าลักษณะการวิ่งของเรานั้นเป็นแบบไหน ซึ่งตรวจสอบได้จากการสึกของพื้นรองเท้าที่เราใส่วิ่งเป็นประจำลักษณะการวิ่งของคนทั่วไปที่พบเห็นมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน
1. Neutral Pronation แสดงรูปแบบการสึกหรอที่ตรงกลางของฝ่าเท้าและที่ส้นเท้าส่วนเล็ก ๆ ด้านนอกที่มีลักษณะการม้วนเข้าที่ด้านในของข้อเท้า
การที่ฝ่าเท้าของเรารับแรงกระแทกตรงกลางนั้นและแสดงให้เห็นการสึกที่ตรงกลางนั้นเป็นลักษณะธรรมชาติของนักวิ่งและเป็นการวิ่งที่มีประสิทธิภาพและยังช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อและหัวเข่าอีกด้วย
2. Overpronation แสดงรูปแบบการสึกแบบตามขอบด้านในของพื้นรองเท้าซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดจากการหมุนของข้อเท้ามากไป ซึ่งถ้าเราเจอว่าพื้นของเราสึกแบบนี้ เราจะพบว่าจะมีอาการบาดเจ็บหลังจากเราวิ่งเสร็จที่หัวเข่าหรือ ข้อต่อของเรา ควรจะต้องมีการปรับท่าเพื่อแก้ไขการลงเท้าให้ถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือ เลือกรองเท้าที่ช่วยให้เท้าเราหยุดหมุนในตำแหน่งที่เหมาะสม
3. Supination ( บางคนเรียกว่า Under-pronation) แสดงรูปแบบการสึกตามขอบด้านนอกของรองเท้าซึ่งจะตรงกันข้ามกับแบบที่ Overpronation ผลที่ได้จะเกิดแรงกระทำต่อ ต่อเข่าและสะโพกมากกว่าการวิ่งแบบอื่นๆ เวลาวิ่งเสร็จจะเกิดการบาดเจ็บมากกว่า
ที่นี้วิธีแก้การวิ่งแบบที่เป็น Over- pronation และ Under-pronation
1. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องรูปแบบท่าวิ่งให้เหมาะสม
การเลือกซื้อรองเท้า
สำหรับนักวิ่งที่มีปัญหาวิ่งแบบ Over pronation ควรจะหารองเท้าที่มีส่วนซัพพอทเท้าที่ช่วยให้เท้าหยุุดหมุนในตำแหน่งที่เหมาะสม ได้แก่ประเภท Motion control/ Stability
ตัวอย่างได้ประเภทรองเท้าได้แก่
Asics Gel Kayano
Asics Gel Evolution
Mizuno Wave Alchemy 12
Mizuno Wave Nirvana 8.
Mizuno Wave Alchemy 9
Brooks Adrenaline GTS 10
Mizuno Wave Renegade 4
Mizuno Wave Alchemy 10
สำหรับนักวิ่งที่มีปัญหาแบบ Under Pronation ( Supination)
จะต้องการรองเท้าที่มีการดูดซับแรงกระแทกที่ข้อเท้าได้สูง ประเภทรองเท้าควรจะเป็นแบบ Cushion
ตัวอย่างรองเท้าได้แก่
Asics Cumulus
Mizuno Wave Rider 15
Mizuno Wave Creation 13
Mizuno Wave Enigma 2
Mizuno Wave Prophecy.
สำหรับนักวิ่งประเภท Neutral Pronation ถ้าน้ำหนักตัวไม่ได้มากก็สามารถเลือกรองเท้าที่ใส่สบาย น้ำหนักรองเท้าไม่ต้องมากเพราะไม่ได้ต้องการส่วนที่รองรับแรงกระแทกมากนัก แต่ถ้ามีน้ำหนักตัวที่มาก ก็สามารถใช้รองเท้าประเภทเดียวกับนักวิ่งพวก Under Pronation ( Supination) ได้ครับเพราะพื้นรองเท้าจะมีส่วนรองรับแรงกระแทกได้ดี ช่วยปกป้องหัวเข่าของเรา
ตัวแปรอีกตัวที่ช่วยพิจารณาในการเลือกซื้อรองเท้าคือ ค่า Drop ของรองเท้า
Drop ของรองเท้าคือ ความสูงที่ต่างกันระหว่างความสูงของส้นเท้ากับปลายเท้า ซึ่งเกิดจากการที่รองเท้าตัองรับน้ำหนักที่แตกต่างกัน โดยปกติหากค่า Dropสูง รองเท้าก็จะมีพื้นที่รับแรงกระแทกสูง และถ้า Drop น้อยพื้นรองเท้าก็จะมีส่วนรับแรงกระแทกน้อยนั่นเอง
รูปด้านล่างอธิบายถึงความสัมพันธ์ ของค่า drop ที่ค่าต่างๆ
ค่า Drop = 0 mm. เหมาะกับอยากปรับท่าวิ่ง หรือคนที่ลงเท้าแบบ fore foot /Mid foot (วิ่งลงกลางเท้า) อยู่แล้ว
ค่า Drop = 1-2 mm. เหมาะกับอยากปรับท่าวิ่ง หรือคนที่ลงเท้าแบบ fore foot /Mid foot(วิ่งลงกลางเท้า) อยู่แล้ว
ค่า Drop = 3-4 mm. เหมาะกับคนที่ค่อยๆอยากปรับท่าวิ่ง และไม่อยากเสี่ยงปรับไปที่ Zero drop เลย หรือคนที่ลงเท้าแบบ fore foot/Mid foot(วิ่งลงกลางเท้า) อยู่แล้ว ** รองเท้าแนว Racing หลายแบรนด์ มี Drop ประมาณนี้
ค่า Drop = 5 mm. ขึ้นไป เหมาะกับคนที่ลงเท้าแบบ fore foot/Mid foot(วิ่งลงกลางเท้า) ขึ้นไปจนถึง Heel Strike(วิ่งลงด้วยส้นเท้า) ** รองเท้าประเภทนี้เน้นความนุ่มสบายส้นรองเท้าหนา
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ สามารถเลือกซื้อรองเท้าวิ่งที่เหมาะสมกับตัวเราได้ดีมากขึ้นนะครับ ร่วมติชมหรือแสดงข้อคิดเห็นได้โดยการคอมเม้นที่ใต้บทความนี้เลยครับ**
No comments:
Post a Comment